วันอังคาร, 07 มิถุนายน 2565 09:33

วันไหว้ครู

Written by
Rate this item
(3 votes)

ช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี วันไหว้ครูของทุกปีก็ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 2 ของสัปดาห์ เช่นปีนี้(พ.ศ.2565) วันพฤหัสบดีสัปดาห์แรก ได้แก่ วันที่ 2 มิถุนายน ส่วนสัปดาห์ที่ 2 ถัดไปก็ ได้แก่ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ได้แก่วันนี้นี่เอง ส่วนโรงเรียนใดหรือสถานศึกษาอื่น ๆ ที่ติดภารกิจไม่สามารถทำตามปฎิทินได้ ก็สามารถเลื่อนออกไปเป็นวันพฤหัสบดี หรือวันอื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสมของสถานศึกษาก็จะถือได้ว่าเป็นเดือนที่ลูกศิษย์ นักเรียน นักศึกษา จะได้มีโอกาสเข้าไปแสดงความเคารพรักและระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ที่ตลอดเวลาที่เรียนนั้นแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านได้คอยอบรม สั่งสอนให้เราเป็นคนดี .. งั้นเราไปทำความรู้จักกับเรื่องราว ประวัติ วันไหว้ครู กันหน่อยดีกว่า

ประวัติวันไหว้ครู

“ครู” มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า “หนัก” อันหมายถึงความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนๆ หนึ่งจะเติบโตมีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลยในชีวิตของคนๆ หนึ่ง ดังนั้น ครู จึงเป็นบุคคลสำคัญเป็นที่สอง รองไปจากบิดามารดาที่เราทุกคน ควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

ความสำคัญพิธีไหว้ครู

คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่า ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ การไหว้ครูนี้ นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไป

พิธีไหว้ครูในโรงเรียน และดอกไม้ไหว้ครู

waikroo

หญ้าแพรก สื่อถึง เป็นหญ้าที่เติบโตเร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์ เมื่อได้รับการสั่งสอนก็พร้อมจะเรียนรู้ เหมือนดังหญ้าแพรกที่แม้บางครั้งจะเหี่ยวเฉาไป แต่เมื่อใดที่ได้รับน้ำก็พร้อมจะเติบโตทันที
ดอกเข็ม สื่อถึง สติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม
ดอกมะเขือ สื่อถึง มะเขือนั้นจะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึงนักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง และดอกงอกงามได้อย่างรวดเร็ว
ข้าวตอก สื่อถึง ความรู้ที่แตกฉาน เพิ่มพูนอย่างรวดเร็ว เหมือนลักษณะของข้าวสาร เปรียบได้กับการที่ครู “คั่ว” นักเรียนคนใดคนหนึ่ง กล่าวคือ “คั่ว”คือการเคี่ยวเข็ญ ว่ากล่าวตักเตือน อบรมสั่งสอนนั่นเอง วิชาความรู้ของนักเรียนเหล่านั้นจะ “แตก”ฉานสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

Read 20541 times Last modified on วันอังคาร, 07 มิถุนายน 2565 09:57
ครูสันติ มารัตน์

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
More in this category: « วันสารทจีน

18789598
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
1487
34312
195988
18380968
594132
1054856
18789598

Your IP: 3.133.79.70
2024-04-20 01:10